วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

มองเพศที่สามอย่างเข้าใจ



การเป็นเกย์และกระเทยส่วนหนึ่งมาจาก อิทธิพลของฮอร์โมนเพศตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา นอกนั้นคือสิ่งแวดล้อม สังคมและการเลี้ยงดูในครอบครัว
เพศที่ 3 กับสังคม
คนทั่วไปส่วนใหญ่ยังมีความสับสนเรื่องผู้ชายด้วยกันหรือผู้ชายที่มี กิริยามารยาทคล้ายกับผู้หญิงนอกจากคนในสังคมจะสับสนและไม่เข้าใจแล้ว ยังมองบุคคลเหล่านี้ไปในทางลบ
ทั้งนี้ จะต้องทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ชายมีหลักๆ 3 กลุ่มคือ

  • กลุ่มผู้ชายที่รักผู้หญิง (เพศตรงข้าม-ต่างเพศ) ซึ่งสังคมทั่วไปยอมรับ

  • กลุ่มผู้ชายที่รู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ชาย แค่รักผู้ชายด้วยกัน (เพศเดียวกัน-ร่วมเพศ) ซึ่งมักนิยามตัวเองว่า เกย์ (gay) มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษที่แปลวา สดใส ร่าเริง

  • ผู้ชายที่มีจิตใจเป็นผู้หญิง หรือเป็นผู้หญิงที่อยู่ในร่างของผู้ชายนั่นเอง คำไทยมักใช้ว่า กะเทย” (transgender หรือ transsexual)

         การที่ผู้ชายมีความรักเพศเดียวกัน มีสาแหตุหลายอย่าง ทั้งปัจจัยทางชีววิทยา และจิตวิทยา เริ่มตั้งแต่สาเหตุทางพันธุกรรม การพัฒนาของสมองเด็กในครรภ์ที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ ตลอดจนการอบรมเลี้ยงดู และประสบการณ์การเรียนรู้หลังจากที่เกิดมาแล้วซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ไม่ได้ เกิดจากการเลียนแบบ และไม่ติดต่อกัน

ทั้งเกย์และกระเทย จะเริ่มรู้สึกว่าตนเองต่างจากเพื่อเพศเดียวกัน ตั้งแต่อายุ 3-4 ขวบ หรือเมื่อเริ่มจำความได้ โดยจะจดจำว่าพ่อแม่ตักเตือนอยู่เสมอว่าอย่าทำตัวเป็นผู้หญิง ซึ่งอาจจะสร้างความรู้สึกกดดันภายในจิตใจ

ด้านพฤติกรรมจะมีความรู้สึกอ่อนไหว ร้องไห้ง่าย กิริยามารยาทคล้ายเด็กหญิง ชอบแต่งตัว ชอบเล่นกับกลุ่มเพื่อนผู้หญิง ไม่ชอบเล่นรุนแรง เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นจะมีความรู้สึกทางเพศเดียวกัน แตกต่างจากเพื่อนผู้ชายทั่วไป

เนื่องจากเด็กรับรู้ว่าสังคมทั่วไปมีความรู้สึกรังเกียจเกย์และกระเทย เด็กจึงสับสนไม่แน่ใจ ในการวางตัวในสังคม ความเครียด และพยายามบิดปังความรู้สึกของตนเอง บางคนพยายามป้องกันตนเอง โดยพยายามทำตัวเป็นชายชาตรี เช่น พยายามมีคนรักเป็นผู้หญิงหลายๆ คน เพาะกายให้ดูเป็น แมนแสดงตนก้าวร้าว ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ มีเด็กบางคนก็พยายามหาสิ่งทดแทนความด้อย เช่น พยายามขยัน ตั้งใจเรียน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เพื่อน ซึ่งเป็นการทดแทนที่ดีถ้าพ่อแม่ผู้ปกครองและครูไม่เข้าใจ เด็กจะยิ่งมีความทุกข์ทรมานใจมากขึ้น บางคนมาปรึกษาแพทย์เพื่อขอฉีดฮอร์โมนเพศชาย โดยหวังว่าฮอร์โมนเพศชายจะช่วยเปลี่ยนความรู้สึกและความต้องการในใจ แต่ความเป็นจริงฮอร์โมนเหล่านี้ไม่ได้มีผลดังที่หวังเลย

ระยะสับสนกังวลนี้อาจจะกินเวลานานมากหรือน้อย แล้วแต่ตัวเด็กแต่ละคน เมื่อผ่านระยะนี้ไปเด็กจะเริ่มยอมรับความรู้สึกและความต้องการทางเพศของตน เองมากขึ้น ความเครียด ความวิตกกังวลจะลดลง ในขั้นต่อไปอาจพัฒนาถึงขั้นเปิดเผยตนเองต่อสังคม และสามารถปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี

สังคมไทยยอมรับเกย์และกระเทยมากขึ้นกว่าในหลายประเทศ แต่คนบางกลุ่มก็ยังรู้สึกในแง่ลบกับเกย์และกะเทย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะภาพเกย์และกะเทยที่ออกมาตามสื่อต่างๆ ทั้งหนังสือพิมพ์ละครโทรทัศน์ ภาพยนตร์ แสดงเป็นตัวตลกบ้าๆ บอๆ มีอารมณ์รุนแรงโหดเหี้ยม ซึ่งความจริงที่ปรากฏก็คือเกย์และกะเทยที่ประสบความสำเร็จในชีวิต เป็นคนดี ทำประโยชน์ให้สังคมก็มีอยู่มาก

ที่มา : http://www.ppat.or.th/th/article/understand_third_gender

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น