วันพุธที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2557

คำสั่ง SQL เบื้องต้น

การเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงใด ๆ ก็ตาม เมื่อจะติดต่อกับฐานข้อมูลจำเป็นต้อง
ใช้คำสั่งของภาษา SQL เข้ามาร่วมด้วยเสมอ ภาษา SQL จึงเป็นภาษาสำหรับการจัดการฐานข้อมูล
โดยเฉพาะคำสั่งเบื้องต้นที่จำเป็นต้องรู้ ได้แก่ คำสั่งสำหรับนิยามข้อมูล และคำสั่งสำหรับการ
จัดการข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้         

1. คำสั่งสำหรับนิยามข้อมูล
                       
 คำสั่งสำหรับนิยามข้อมูล เป็นคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการสร้างฐานข้อมูล การสร้างและแก้ไข รวมทั้งการลบ
โครงสร้างตาราง มีรายละเอียด ดังนี้

          1.1  คำสั่งสำหรับการสร้างฐานข้อมูล ตัวอย่าง การสร้างฐานข้อมูลชื่อ “CRM” มีคำสั่ง ดังนี้
                      CREATE  DATABASE  CRM;

          1.2  คำสั่งสร้างโครงสร้างตาราง ตัวอย่างให้สร้างโครงสร้างตารางชื่อ CUSTOMER 
ตามพจนานุกรมข้อมูล เขียนคำสั่งได้ ดังนี้
                       CREATE  TABLE CUSTOMER(
                       CUS_CODE     VARCHAR(13)  NOT NULL,
                        CUS_NAME  VARCHAR(50)  NOT NULL,
                        ADDRESS   VARCHAR(255) NOT NULL,
                         PHONE     VARCHAR(20),
                         EMAIL    VARCHAR(50)
                         PRIMARY KEY(CUS_CODE));

สร้าง table
 mysql > create table <ชื่อtable> (<ชื่อข้อมูล> <ชนิดข้อมูล>, ... );     ชนิดข้อมูล เช่น
VARCHAR(n) - ข้อมูลชนิด string เก็บแบบ linked list เหมาะสมกับข้อมูลที่มีความยาวที่ไม่แน่นอน
CHAR(n) - ข้อมูลชนิด string เก็บแบบ array เหมาะสมกับข้อมูลที่มีความยาวที่แน่นอน
INT - จำนวนเต็ม
DATE - ข้อมูลชนิดพิเศษของ SQL ใช้เก็บวันที่ มีรูปแบบเป็น YYYY-MM-DD
การใส่ข้อมูลลงไปใน table

1.ใช้คำสั่ง load data จากไฟล์ที่เราเตรียมไว้ โดย default จะแบ่งเนื้อหาโดยใช้ tab แบบนี้จะ
มีปัญหาเรื่องการใช้ข้อมูลชนิด NULL ซึ่งใช้ \N แทน
mysql > load data local infile ‘natsu.txt’ into table pet;

2.INSERT ใส่ทีละข้อมูล เหมาะกับข้อมูลที่น้อยๆ ที่เราเพิ่มเติมเข้าไป เช่น
mysql > INSERT INTO pet VALUES (‘natsusencho’, ‘1992-03-25’, ‘M’);

3.ทำ SQL script คือเตรียมไฟล์คำสั่ง sql ไว้แล้วนำมาทำการ source ทีเดียวเช่น
mysql > INSERT INTO pet VALUES (‘natsusencho’, ‘1992-03-25’, ‘M’);
  ---- file natsu.sql ----
CREATE TABLE IF NOT EXISTS human (
       name   VARCHAR(20),
       birth DATE, 
sex CHAR(1) );
INSERT INTO human VALUES 
      ( 'NatsuSencho',   '1992-03-25', 'M'),
      ( 'Slime',   '1999-03-03', NULL ),
  ( ‘HeyFemale’ , ‘1993-12-25’ , ‘F’);
----- file natsu.sql -----
หลังจากสร้างเสร็จแล้วก็ลองใช้คำสั่ง
mysql > source natsu.sql;
 ก็จะได้ตาราง world หน้าที่มีข้อมูล 3 ตัว
create table IF NOT EXISTS human
คำว่า IF NOT EXISTS หมายถึงการสร้าง table 


          1.3 คำสั่งแก้ไขโครงสร้างตาราง ตัวอย่างการเพิ่มแอตทริบิวต์  PROVINCE ในตาราง CUSTOMER  เขียนคำสั่งได้ ดังนี้                      
                            ALTER  TABLE           CUSTOMER
                             ADD (PROVINCE   VARCHAR(60));


          1.4  คำสั่งลบโครงสร้างตาราง ตัวอย่างการลบตาราง CUSTOMER  เขียนคำสั่งได้ดังนี้                               DROP  TABLE  CUSTOMER;


2. คำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล       คำสั่งสำหรับการจัดการข้อมูล ใช้สำหรับจัดการข้อมูลต่างๆ ได้แก่ การแทรกข้อมูลเข้าสู่ตาราง การแก้ไขข้อมูลการลบข้อมูล ตลอดจนการเลือกข้อมูลขึ้นมาแสดง เป็นต้น

          2.1 คำสั่งแทรกข้อมูล ตัวอย่างการแทรกข้อมูลรหัสลูกค้าหมายเลข 230 ชื่อ สกุล คมกฤช  เจริญ ที่อยู่ 14/12 ถ.กาญจนวนิช ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา หมายเลขโทรศัพท์ 074324432 อีเมล์  krid@hotmail.com  เข้าสู่ตาราง CUSTOMER เขียนคำสั่งได้ดังนี้
                INSERT  INTO  CUSTOMER
                (CUS_CODE, CUS_NAME, ADDRESS, PROVINCE, PHONE,
                EMAIL)VALUES(‘230’, ‘คมกฤช เจริญ’, ‘14/12 ถ.กาญจนวนิช ต.เขารูปช้าง 

                อ. เมือง’,  สงขลา’, ‘074324432’, ‘krid@hotmail.com’);
           
          2.2  คำสั่งแก้ไขข้อมูล ตัวอย่างการแก้ไขหมายเลขโทรศัพท์ของคมกฤช เจริญ เป็น 074312726 และอีเมล์เป็น komkrid.j@yahoo.com  เขียนคำสั่งได้ ดังนี้        
                              
                                     UPDATE  CUSTOMER SET
                                                  PHONE = ‘074312726’,
                                                  EMAIL = ‘krid.j@yahoo.com’
                                      WHERE  CUS_CODE = ‘230’;
            

          2.3  คำสั่งลบข้อมูล ตัวอย่างการลบข้อมูลจากตาราง CUSTOMER เฉพาะข้อมูลของลูกค้าที่ชื่อคมกฤช เจริญ เขียนคำสั่งได้ ดังนี้
                        DELETE FROM CUSTOMER  WHERE CUS_CODE = ‘230’;


      2.4 คำสั่งเลือกหรือค้นหาข้อมูล ตัวอย่างการแสดงข้อมูลลูกค้าทั้งหมดที่อยู่ในเขตจังหวัดสงขลา สามารถเขียนคำสั่งได้ ดังนี้  
                        SELECT  *  FROM  CUSTOMER  WHERE  PROVINCE = ‘สงขลา’;

ที่มา :http://natsusencho.blogspot.com/2012/08/sql-language.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น